วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำตัวค่ะ

สวัสดีค่ะ

ชื่อเบญจพร แสนสุข


ชื่อเล่น BEN


ปัจจุบันนี้กำลังศึกษาอยู่ :คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ปี 2 ค่ะ    HOS


คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด และจงใช้เวลาทุกนาทีให้มีค่าเสอม



สิ่งที่เกลียดที่สุด : คนที่ชอบดูถูกคนอื่น ไม่จริงใจ และสตอเบอรี่


สัตว์ที่โปรดปาน : สุนัข....เจ้าตัวนี้เรารักมากเลยนะ


สุดท้าย...รักสิ่งใด....ไม่เท่ารักแม่......!


ขอบคุณค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วัฒธรรมประเพณี

งานเทศกาลชมพูภูคา สืบสานตำนานไตลื้อ ปี 2553



น่าน เมืองที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ด้าน โบราณสถาน สถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือน งานศิลปะ ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลากหลายชนเผ่า ผ่านมาหลายยุคสมัยที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากกระแสความเจริญจากภายนอกอย่างมากมาย จนถึงปัจจุบันน่านยังคงรักษาวัฒนธรรมได้ลงตัวอย่างลงตัวและน่าสนใจอย่างยิ่ง น่านยังได้รับการกล่าวกันว่าเป็นชุมชนคนต้นน้ำอันเป็นพื้นที่ประกอบด้วย แม่น้ำ สา ยธาร ภูเขา ป่าไม้ ทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติได้หล่อหลอมความเป็น “เมืองแห่งอารยธรรม ล้านนาตะวันออก” อย่างแท้จริง และยังมีกลิ่นไอของอารยธรรมล้านช้างหรือเมืองหลวงพระบางอันลือชื่อในปัจจุบัน อีกด้วย อันเป็นเสน่ห์ให้ผู้คนหลงใหลในความเป็นอดีตและความเป็นธรรมชาติเดินทางมาท่องเที่ยวยังเมืองน่านและกลายเป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในภูมิภาคภาคเหนือในปัจจุบัน

นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) สำนักงานแพร่ ซึ่งรับผิดชอบด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมกราคม ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2553 นี้ จังหวัดน่านยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว กลุ่มวัยทำงานรวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องจากช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา สำหรับ ในเดือนกุมภาพันธ์ อันเป็นเดือนแห่งความรัก ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2553 นักท่องเที่ยวต่างรอคอยที่จะมาสัมผัสความงามของดอกชมพูภูคา นามว่า “ชมพูภูคา” ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระเทพพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต้นชมพูภูคาเป็นพืชหายากชนิดหนึ่งของโลก มีดอกสีชมพูอมขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bretschneidera sinensis Hemsl ชื่อวงศ์ BRETSCHNEIDERACEAE พบแห่งเดียวที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว จ.น่าน เคยค้นพบในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศจีนและตอนเหนือของประเทศเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีการค้นพบอีกเลยและอาจจะสูญพันธ์จากโลกไปแล้ว จนในปี 2552 ได้มีการค้นพบอีกครั้งโดย ดร. ธวัชชัย สันติสุข นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ณ อุทยานแห่งชาติ ดอยภูคาแห่งนี้

 ดอกชมพูภูคา ในปีนี้คาดว่าจะเริ่มบานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม 2553


งานประเพณีหกเป็งนมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง

ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ประเพณีหกเป็งนมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง (ไหว้สาพระธาตุแช่แห้ง) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่อดีต ในช่วงฤดูเทศกาลเพ็ญเดือนหก (เหนือ) เจ้าผู้ครองนครน่าน พร้อมด้วยข้อราชบริพารจะพากันไปนมัสการพระธาตุแช่แห้ง โดยในวันขึ้นสิบสี่ค่ำเดือนหก ขบวนแห่ของเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่างๆ จะมาพร้อมกันที่บริเวณรอบๆ เนินภูเพียงแช่แห้ง จะมีพิธีทางศาสนา และกิจกรรมเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา โดยมีการทำบุญตักบาตร เทศมหาชาติ บรรยายธรรม และมีการจุดบ๊อกไฟดอก (บั้งไฟ) ซึ่งมีลักษณะเป็นไฟพะเนียงพื้นบ้าน มีความสวยงามในยามราตรี เมื่อถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนหก ขบวนพุทธศาสนิกชนจะทำครัวตาน (เครื่องไทยธรรม) ในช่วงบ่ายจะมีการถวายเป็นพระพุทธบูชา โดยการจุดบ๊อกไฟดอก (บั้งไฟ) ขึ้น และมีการแสดงพระธรรมเทศนา เทศน์มหาชาติสืบเนื่องต่อจากวันขึ้นสิบสี่ค่ำ
     
    


ตำนานแข่งเรือจังหวัดน่าน


    


















                    ประเพณีการแข่งเรือยาวของเมืองน่าน เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณกาล การจัดแข่งจะจัดกันเองในหน้าน้ำ ในเทศกาลตานก๋วยสลาก (สลากภัต) แต่ละวัดก็จะนำเรือของตนเข้าแข่งเพื่อเปนการสมานสามัคคีกัน

เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่าน ไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทยคือ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น โดยเชื่อกันว่า มีความทนทานและผีนางไม้แรง



 
ที่มา http://www.oceansmile.com/N/Nan/NANm10.htm


http://thai.tourismthailand.org/festival-event/nan-55-7221-1.html


http://thai.tourismthailand.org/festival-event/nan-55-7236-1.html

http://www2.asis.co.th/weerachat/new_page_11.htm

ข้อมูลการเดินทางของ จ. น่าน

ข้อมูลการเดินทางของ จ. น่าน

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 มาจนถึงจังหวัดพิษณุโลกและใช้ทางหลวงหมายเลข 11 โดยจะผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่) จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านจังหวัดแพร่ไปจนถึงตัวจังหวัดน่าน รวมระยะทางประมาณ 668 กิโลเมตร

รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง) ไปลงที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แล้วจึงต่อรถโดยสารประจำทางมาที่จังหวัดน่าน ระยะทาง 142 กิโลเมตร รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง
สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2) มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดน่านทุกวัน ติดต่อ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936 2852-66 www.transport.co.th และมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดน่าน ติดต่อ แพร่ทัวร์ โทร. 0 2245 2369, 0 2245 1697 และ 0 2936 3720 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-6 และ 0 5471 0122 เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 5471 0362, 0 2936 0199


การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.น่าน
การเดินทางจากอำเภอเมืองน่านไปยังอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง กิโลเมตร
อำเภอภูเพียง - กิโลเมตร
อำเภอเวียงสา 25 กิโลเมตร
อำเภอสันติสุข 33 กิโลเมตร
อำเภอแม่จริม 39 กิโลเมตร
อำเภอท่าวังผา 42 กิโลเมตร
อำเภอบ้านหลวง 45 กิโลเมตร
อำเภอนาน้อย 60 กิโลเมตร
อำเภอปัว 60 กิโลเมตร
อำเภอสองแคว 77 กิโลเมตร
อำเภอเชียงกลาง 78 กิโลเมตร
อำเภอนาหมื่น 80 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งช้าง 93 กิโลเมตร
อำเภอบ่อเกลือ 108 กิโลเมตร
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 135 กิโลเมตร



ที่มา http://thai.tourismthailand.org/destination-guide/nan-55-664-1.html

http://www.tour-thai.net/north/nan/traveltrip.html

http://www.nan2day.com/forum/index.php?topic=1153.0

สถานที่ท่องเที่ยว


  • ล่องแก่งลำน้ำว้า


ล่องแก่งลำน้ำว้า ที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพางห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 59 กิโลเมตร น้ำว้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสไหลตลอดปีมีทัศนียภาพสวยงาม สองฝั่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าไม้ โขดหิน เกาะแก่งที่สวยงามและแก่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือแก่งหลวง มีหาดทรายขาวเหมาะสำหรับตั้งแคมป์มีบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ
เส้นทางล่องแก่งลำน้ำว้าเดิมเป็นเส้นทางล่องไม้สัก ที่ถูกลักลอบตัดจากผืนป่าในเขตอำเภอแม่จริมและอำเภอเวียงสา ตลอดลำน้ำว้าไหลผ่านหุบเขา สองฝั่งเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนผ่านแก่งต่าง ๆ กว่า 22 แก่ง ซึ่งมีระดับความยากง่ายอยู่ที่ระดับ 3-5 (ระดับ 3 เป็นระดับปานกลาง ระดับ 4 เป็นระดับยาก ระดับ 5 เป็นระดับยากมาก) แก่งที่ใหญ่ที่สุดและยากที่สุด คือแก่งหลวง บางจุดของลำน้ำเป็นหาดทรายที่สามารถจอดแพเพื่อให้ลงเล่นน้ำ บางแห่งเป็นจุดปางช้างสำหรับขึ้นช้างต่อไปที่บ้านหาดไร่ ช่วงเวลาที่ปริมาณน้ำขึ้นสูงสุดคือ เดือนสิงหาคม และช่วงที่ปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือ เดือนเมษายน ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการล่องแก่ง  น้ำว้า คือระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมเส้นทางล่องน้ำว้ามี 2 เส้นทาง คือ
เส้นทางล่องเรือยาง เริ่มจากบ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม สิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ตำบลส้านนาหนอง อำเภอเวียงสา รวมระยะทาง 19.2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หากเริ่มลงแพที่หน้าที่ทำการอุทยานฯ จะเหลือระยะทาง 15 กิโลเมตร เส้นทางล่องแพไม้ไผ่ เริ่มจากบ้านน้ำว้าขึ้นที่บ้านน้ำปุ๊ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
ติดต่อทัวร์ล่องน้ำว้า
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
   อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิ.ย พ.ศ.2542 มีเนื้อประมาณ 1,065,000 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดน่าน คือ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม และอำเภอบ่อเกลือ ครอบคลุมบริเวณเทือกเขาดอยภูคา มีจุดสูงสุดคือยอดดอยภูคาที่สูง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกภูฟ้า พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่
ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้ง เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ถ้ำผาฆ้อง  ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อย และลำธารไหลผ่าน
น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูนมี 3 ชั้น อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา บนโตรกผามีพืชชุ่มน้ำ
น้ำตกศิลาเพชร น้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป เหมาะกับการเล่นน้ำ
น้ำตกภูฟ้า อยู่ในอ.แม่จริม การเดินทางเข้าไปยากลำบากจะต้องเดินเท้าประมาณ 2 วัน
น้ำตกตาดหลวง บ้านทุ่งเฮ้า อ.ปัว และเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาพลวง
ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งระดับ 3-5 ประมาณ 20 กว่าแก่ง เป็นสุดยอดแห่งความตื่นเต้นสนุกสนานช่วงเวลาที่เหมาะกับการล่องแก่งอยู่ระหว่างเดือน ส.ค.-ธ.ค.
ยอดดอยภูแว เป็นยอดดอยที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร มีลักษณะโดดเด่นเป็นทุ่งหญ้าบนดอย
สุสานหอย ซึ่งเป็นหอยทะเลอายุประมาณ 218 ล้านปี พบในบริเวณบ้านค้างฮ่อ อ.ทุ่งช้าง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว คือ ช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิ 15-27 องสาเซลเซียส และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งมีอากาศเย็นสบาย สิ่งอำนวยความสะดวก ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สถานที่สำหรับตั้งเต็นท์พักแรม บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และลานดูดาวซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ตามถนนสายปัว-บ่อเกลือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรในบริเวณพื้นที่กางเต็นท์ทั้ง 2 แห่งนี้มีห้องน้ำ ห้องสุขาไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว

เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ
 เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ อยู่ที่ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน 60  ก.ม  จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย “แพะเมืองผี” ที่จังหวัดแพร่ จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย (late tertian) ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า




http://thai.tourismthailand.org/attraction/nan-55-459-1.html


http://thai.tourismthailand.org/attraction/nan-55-462-1.html

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รู้จักคน รู้จักชุมชน เมืองน่าน

รู้จักคน รู้จักชุมชน

น่านมีจำนวนประชากร 514,688 คน ประกอบด้วยหลายชนเผ่าได้แก่

ไทยวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมืองน่าน ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของคนเมืองน่านที่อพยพมาจากล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง







ไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณชายแดนพื้นที่รอยต่อระหว่างสิบสองปันนาเชียงตุง ลาว และล้านนา อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลทางการดำรงชีพ การถูกกดขี่จากจีน และพม่า หรือหนีภัยสงครามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน บ้างก็อพยพตามสายเครือญาติ และการค้าขาย วัฒนะธรรมไทลื้อกับไทยวนมีความคล้ายคลึงกันทั้งภาษา ศาสนา การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม โดยเฉพาะวิถีการผลิตแบบ "เอ็ดนาเมืองลุ่ม" หรือทำนาดำ เอกลักษ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอลายน้ำไหลและลายลื้อ โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า "เกา" หรือ "ล้วง"




ลัวะ/ถิ่น เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานมาดั้งเดิม รวมทั้งที่อพยพมาจากเมืองไชยบุรี สปป.ลาว ส่วนคำว่า "ถิ่น" เป็นชื่อที่ทางการไทยเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มนี้ในจังหวัดน่าน ลัวะมักตั้งบ้านเรือนบนพื้นที่สูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณลำน้ำสาขาแม่น้ำน่าน เช่น น้ำวาง น้ำว้า และน้ำมาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ และหาของป่า มีฝีมือในการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นภาชนะต่างๆ หลายๆหมู่บ้านยังคงความเชื่อดั้งเดิมที่ผีสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีไร่ และผีบรรพบุรุษ งานพิธีใหญ่ที่สุดในรอบปีได้แก่ พิธี "โสลด" (อ่าน สะโหลด) หรือพิธี "กิ๋นดอกแดง" เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิต และเพื่อเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่ ปัจจุบันลัวะตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รองลงมาคือ ที่อำเภอบ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง และเชียงกลาง

ขมุ สันนิฐานว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านชายแดนเมืองน่านและลาว เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีก่อน สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ.2373 ขมุถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นกำลังในการสร้างกำแพงเมืองเก่าน่าน เจมส์ เอฟ แม็คคาธีร์ได้สำรวจเพื่อทำแผนที่ทางภาคเหนือช่วงปี พ.ศ.2433-2436 กล่าวถึงขมุตามชายแดนเมืองน่านว่ามี 2 กลุ่ม คือ ขมุ (ลาว เรียกว่า ข่า) หรือ "ข่าลาว" อยู่ใต้อำนาจหลวงพระบางและขมุที่อยู่ใต้อำนาจของน่าน เรียก "ข่าแคว้น"ชาวขมุได้ชื่อว่ามีฝีมือในการตีเหล็กเพื่อเป็นเครื่องมือ เช่น มีด ดาบ จอบ เสียม

ม้ง (แม้ว) ตำนานของชนเผ่ากล่าวว่า อพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียสู่ประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อว่าม้งอพยพมาเมืองน่านราว พ.ศ. 2433-2442 มีความสามารถในด้านการค้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และทำเครื่องเงิน ชาวม้งมีความเชื่อว่าโลหะเงินเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และมงคลแก่ชีวิต

เย้า (เมี่ยน) ถิ่นเดิมอยู่แถบมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทางตะวันออกของประเทศจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร วัฒนธรรมของเมี่ยนจึงได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาษา การสืบสกุลทางฝ่ายสามี การใช้แซ่ ประเพณีปีใหม่ (ตรงกับเทศกาลตรุษจีน) สาวเมี่ยนมีฝีมือในการปักผ้า ปัจจุบันมีเมี่ยนอยู่มากที่สุดที่อำเภอเมือง

มลาบรี (ผีตองเหลือง) สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมชนชาติละว้าที่หนีร่นกลุ่มชนไทไปอยู่ตามป่าเขา ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เมื่อประมาณ 800 กว่าปีมาแล้ว เดิมดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง สร้างเพียงเพิงมุงใบตอง และจะย้ายถิ่นเมื่อใบตองเริ่มแห้งคือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปัจจุบันมลาบรีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเวียงสา วัฒนธรรมถูกกลืนกลายไปหมดแล้ว







ที่มา http://www.nansdc.go.th/nansdc/Thin.htm

www.moohin.com/037/

http://www.tourinthai.com/sitetravel/travel-detail.php?travel_id=346

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน


















        แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์
     แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง


ประวัติศาสตร์เมืองน่าน
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981
เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน
ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง
ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผุ้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง
หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง
นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 ที่มา
http://www.nan.go.th/webjo/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=27

http://www.tourinthai.com/sitetravel/travel-detail.php?travel_id=346

http://www.kroobannok.com/26165